11/29/2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์

ประวัติการวิจารณ์ภาพยนตร์
สำหรับการวิจารณ์ภาพยนตร์ (Film Criticism) ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการวิจารณ์ หากแต่เป็นการวิจารณ์ที่ค่อนข้างจะมีความใหม่อยู่ เนื่องจากภาพยนตร์กำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมานี้เอง แม้มิใช่เป็นศิลปะแขนงใดแขนงหนึ่ง ทว่าภาพยนตร์ก็เป็นการนำเอาศิลปะในอีกรูปแบบ จนอาจจะกล่าวได้ว่าภาพยนตร์เป็นผลรวมของศิลปะแขนงต่างๆ และในปัจจุบันต่างก็ยอมรับว่าภาพยนตร์เป็นศิลปะ และผู้สร้างภาพยนตร์เป็นศิลปิน
                ในการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การวิจารณ์ภาพยนตร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำไปโดยคำนึงถึงการกำเนิดของภาพยนตร์ เพราะการวิจารณ์ภาพยนตร์ได้เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการมีอยู่และการเจริญเติบโตของสื่อมวลชนประเภทนี้
                หากมองย้อนไปในประวัติภาพยนตร์ สามารถพิจารณาโดยแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้เป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ ในสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่ง และในฝรั่งเศสอีกแห่งหนึ่ง ภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาถือกำเนิดขึ้นเมื่อ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) นำเครื่องฉายภาพยนตร์ออกทำการฉายในปี ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) ส่วนในฝรั่งเศสก็เมื่อ หลุยส์ ลูเมียร์ (Louis Lumiere) และคณะได้นำภาพยนตร์ซีเนมาโตกราฟ (Cinematograph) ออกฉายให้สาธารณชนได้ชมในปี ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438)

การวิจารณ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย
                สำหรับการวิจารณ์ภาพยนตร์ในประเทศไทย ถึงแม้จะมีผู้มองว่ามิใช่กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความสามารถในการเข้าถึงศิลปะของภาพยนตร์ดังที่ควรจะเป็น หากแต่เป็นอะไรที่ไม่มากไปกว่า “คู่มือนักบริโภค-Consumer Guide” ทว่าการดำรงอยู่และเติบโตมาพร้อมกับภาพยนตร์ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ภาพยนตร์กับการวิจารณ์ภาพยนตร์ในประเทศไทยมีความสำพันธ์กันอย่างมีความหมาย  และมีความสำคัญไม่มากก็น้อยและไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
                ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า การวิจารณ์นั้นได้กระทำหน้าที่หลายประการ และหนึ่งในหน้าที่นั้นก็คือ การตำหนิหรือชี้แนะแนวทางให้กับผู้สร้างผลงานศิลปะ ซึ่งอาจจะเป็นนักเขียน ผู้กำกับละคร หรือผู้กำกับภาพยนตร์ และเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจำนวนหนึ่งได้แสดงความเห็นยอมรับว่าการวิจารณ์เป็นสิ่งจำเป็น
                การพิจารณาถึงประวัติแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์ในประเทศไทยสามารถแยกออกได้เป็นการวิจารณ์ภาพยนตร์ต่างประเทศและการวิจารณ์ภาพยนตร์ไทย โดยยึดตามลำดับเวลาแห่งประวัติภาพยนตร์ต่างประเทศและประวัติภาพยนตร์ไทยในยุคเริ่มต้นเป็นหลัก กล่าวถึงภาพยนตร์ต่างประเทศได้รุ่งเรืองในช่วงปี พ.ศ. 2466-2469 อันเป็นทศวรรษที่สามของการเปิดศักราชภาพยนตร์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นยุคที่ภาพยนตร์จากฮอลลีวูดเข้ามาฉายในประเทศไทยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ส่วนภาพยนตร์ไทย กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นในทศวรรษต่อมา คือระหว่าง พ.ศ. 2470-2479 อันถือเป็นทศวรรษที่สี่ และการวิจารณ์ภาพยนตร์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับปรากฏการณ์แห่งภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน
                หรือถ้าหากจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา การวิจารณ์ภาพยนตร์ในประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการมีภาพยนตร์ โดยทำหน้าที่ในลักษณะของการโฆษณาเพื่อทำให้ภาพยนตร์น่าสนใจยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการทำหน้าที่ในส่วนที่เป็นการวิจารณ์ตามความหมายของการวิจารณ์โดยทั่วไป
                นับจากจุดเริ่มต้นในยุคนั้น เมื่อเวลาได้ผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษ การวิจารณ์ภาพยนตร์ในไทยก็ยังคงมีอยู่ และดำรงบทบาทหน้าที่อันสำคัญในระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้ผลิตนักวิจารณ์ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงแล้วออกมาอย่างมากมาย แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีนักวิจารณ์ภาพยนตร์คนใดที่จะมีชื่อเสียงยืนยาวพอที่จะเป็นที่รู้จักเท่ากับกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ที่เริ่มทำงานด้านนี้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว

"กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน"

                หากสำรวจวัฒนธรรมการวิจารณ์ภาพยนตร์ในสังคมไทยในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ก็จะพบว่าการวิจารณ์ภาพยนตร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในนิตยสาร ทั้งนิตยสารทั่วไปและนิตยสารเฉพาะกลุ่ม คอลัมน์นักวิจารณ์ภาพยนตร์เป็น “คอลัมน์บังคับ” เช่นเดียวกับคอลัมน์ท่องเที่ยว รับประทานอาหาร หรือการศึกษาปัญหาทางเพศและสุขภาพ
                ด้วยเหตุนี้เอง อาจทำให้การวิจารณ์ภาพยนตร์ถูกดูแคลนในแง่ของการขาดความจริงจัง ทั้งๆที่เนื้อหาของบทวิจารณ์อาจมีความจริงจังและเต็มไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของผู้เขียน ซึ่งแสดงออกอย่างเด่นชัดว่าปรารถนาให้บทวิจารณ์ของตนเป็นมากกว่าเอกสารประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ให้กับผู้ที่ดำเนินธุรกิจทางด้านนี้
    ถึงแม้การเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์จะเกี่ยวพันกับธุรกิจอย่างยากจะแยกออก แต่ผลงานวิจารณ์ภาพยนตร์ที่ปรากฏสู่สาธารณชนก็ยังคงดำรงไว้ซึ่งการวิจารณ์อย่างแท้จริง

บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์





"ดิฉันอาจารย์ วาจวิมล เดชเกตุ นะคะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต"

คำถาม การวิจารณ์ภาพยนตร์ในไทยมีความเป็นมาอย่างไร
                "คือ ก่อนอื่นก็ต้องพูดให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจารณ์ภาพยนตร์ว่า ส่วนใหญ่แล้วงานศิลปะในแทบทุกประเภท มันก็จะมีการวิจารณ์เกิดขึ้น แล้วในภาพยนตร์มันก็เป็นงานศิลปะซึ่งมีลักษณะของพานิชศิลป์ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มันจะมีการวิจารณ์เกิดขึ้นตามมา แล้วก็การวิจารณ์ภาพยนตร์จริงๆแล้ว ถ้าเรามองในประเทศไทย ก็จะพบว่ามีกระแสให้เราพิจารณาได้อยู่สองส่วนสำคัญๆ ส่วนนึงจะเป็นการวิจารณ์ในเชิงวิชาการ ซึ่งผู้วิจารณ์ก็จะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่มีความรอบรู้ในเชิงวิชาการภาพยนตร์ อาจจะเป็นอาจารย์บ้าง หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน อีกส่วนนึงก็จะเป็นนักวิจารณ์ซึ่งสนใจในการชมภาพยนตร์ แล้วก็เขียนคอลัมน์เกี่ยวกับการวิจารณ์ในนิตยสารต่างๆ เพราะฉะนั้นลักษณะการวิจารณ์มันก็จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเราปฏิเสธไม่ได้จากการที่ภาพยนตร์เป็นพานิชศิลป์ การวิจารณ์มันจะไปพ่วงโยงเกี่ยวกับพานิช ก็คือส่งผลต่อการติดตามชมภาพยนตร์ ซึ่งคนดูหนังส่วนใหญ่ก็จะมีส่วนนึงที่ก่อนตัดสินใจจะจ่ายเงิน ขับรถ แต่งตัว ออกไปดูหนัง ขออ่านวิจารณ์ซะหน่อย หรือบางคนก็อาจจะเป็นประเภทว่าไปดูหนังมาแล้ว ไม่แน่ใจว่าตัวเองรู้สึกยังไง ไปอ่านนักวิจารณ์เขาคอมเม้นอีกทีดีไหม เพื่อเราโง่หรือเราดูหนังแล้วพลาดประเด็น มันก็เลยเกิดเป็นกระแสที่ว่าการวิจารณ์ภาพยนตร์เนี่ย มันเกิดขึ้นในบ้านเรา แล้วส่งผลยังไง แต่ทีนี้ ณ ปัจจุบัน มีสื่อที่เป็นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเกิดขึ้น สังเกตไหมว่ามันจะมีการวิจารณ์ภาพยนตร์เผยแพร่ในสื่อที่เป็นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คค่อนข้างมากเลย แล้วมันเป็นเหมือนการกระจายตัว ที่ผู้วิจารณ์จะเป็นใครก็ไม่สนแล้วล่ะ คนอ่านหรือผู้รับสารก็เลือกอ่านวิจารณ์จากประเด็นที่ตัวเองรู้สึกว่าคนนี้ต้องใจเราหรือคนนี้พูดแล้วมันเข้ากับเจตคติเรา มันก็เลยเกิดกระแสการวิจารณ์ซึ่งแพร่หลายเยอะมาก แต่ด้วยหลักการของมันจริงๆ วิธีที่เราจะวิจารณ์ภาพยนตร์ ควรจะต้องมีการใช้ความรู้หรืออิงความรู้ทางด้านภาพยนตร์เข้าไปประกอบด้วย ก็ควรจะเป็นผู้ที่สนใจภาพยนตร์ และศึกษาหาความรู้ทางด้านภาพยนตร์มาประกอบกันด้วย เพื่อทำให้การวิจารณ์มันสามารถตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจน สำหรับสื่อที่เป็นภาพยนตร์จริงๆ"

คำถาม การวิจารณ์ภาพยนตร์ในไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร
                "มันก็น่าจะมีความแตกต่าง เพราะคำว่าต่างประเทศมันกระจายตัวไปได้อีก ถ้าเรามองประเทศที่เป็นประเทศหลักๆ เกี่ยวกับภาพยนตร์ อย่างเช่น อเมริกา ฝรั่งเศส ซึ่งเขาก็จะมีสายที่เป็นสายวิจารณ์ที่ค่อนข้างมีวิธีการแบ่ง แบ่งแยกให้การวิจารณ์มันถูกมองผ่านผู้วิจารณ์ในกลุ่มไหน ซึ่งจริงๆแล้วลักษณะการวิจารณ์แบบนี้ มันก็จะมีทฤษฎีเข้ามาประกอบด้วย ผู้วิจารณ์ก็จะเป็นผู้ที่มีความรอบรู้แล้วก็เวลาวิจารณ์ออกมาจะได้รับเครดิตและความน่าเชื่อถือตามมาด้วย เขาก็จะมีนักวิจารณ์ที่มีชื่ออันดับต้นๆของเขาเลยในต่างประเทศ อย่างในกรณีอเมริกา ถ้าอย่างในฝรั่งเศสก็ต้องยอมรับเลยนะว่า ถ้าเราได้ยินชื่อผู้กำกับ ฟรังซัว ทุฟโฟ่ นี้ ทุฟโฟ่เคยเป็นนักวิจารณ์มาก่อน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ โดยมีนิตยสารเกี่ยวกับวิจารณ์ภาพยนตร์ แล้วเขาก็เป็น บก. อยู่ในนั้นเลย เสร็จแล้วเนี่ยเขาก็พัฒนาตัวเขาเองจากนักวิจารณ์กลายมาเป็นผู้กำกับ แล้วเป็นผู้กำกับชื่อดังระดับโลกด้วย เพราะฉะนั้นประเทศที่มีผู้ที่สนใจทางด้านภาพยนตร์ แล้วก็เป็นประเทศหัวหอกทางด้านภาพยนตร์ ก็จะมีสายของการวิจารณ์ที่เข้มแข็งมาก ก็คือว่าเขามีความชัดเจนกับการวิจารณ์ ไม่ได้วิจารณ์ไปตามอารมณ์หรือเจตคติ มันมีการอิงความรู้ มีการอ้างอิงให้ผู้ที่อ่านเจาะลึกไปในแวดวงภาพยนตร์อย่างชนิดที่ว่าไม่ได้เจาะลึกจากความรู้สึก แต่มันเจาะลึกแล้วมีการอ้างอิงในเรื่องเกี่ยวกับภูมิความรู้หรือองค์ความรู้ด้วย"

คำถาม คิดอย่างไรกับบางคนที่ชอบว่านักวิจารณ์ที่ว่า “ทำหนังให้ได้อย่างเขาก่อน ค่อยไปวิจารณ์เขา”
                "ไอ้วิธีการพูดแบบนี้ ส่วนนึงมันก็น่าคิดเหมือนกันตรงที่ว่า เราฟังแล้วเอาคำเสียดสีนี้ไปพิจารณาไหม แต่ในส่วนตัวเรามองว่า เราอ่านบทวิจารณ์ถ้าเรามีสติเรามีภูมิความรู้ เราก็จะรู้สึกได้ทันทีว่าคนวิจารณ์เขียนจากอะไร เพราะมันมีนักวิจารณ์บางคน อย่างที่เป็นต้นฉบับเรามักจะพูดถึงอย่าง คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน เขาถือว่าเป็นปรมาจารย์ทางด้านการวิจารณ์คนนึงเหมือนกัน ก็จะเป็นนักวิจารณ์พอเวลาเราอ่าน ปัจจุบันเขียนวิจารณ์หนังน้อยลง เราจะรู้ทันทีเลยว่า คุณกิตติศักดิ์ เขาก็ไม่ได้พูดจากความรู้สึกของเขาอย่างเดียว บางทีเขาก็จะพูดแล้วก็อ้างอิงว่า ด้วยการผลิตภาพยนตร์ ด้วยมุมมองภาพยนตร์ที่มันปรากฏ มันใช้องค์ความรู้อะไรเข้ามาประกอบ ถึงทำให้เกิดมุมมองการวิจารณ์ของเขา เพราะฉะนั้นเราก็เลยคิดว่า บางครั้งผลสะท้อนกลับไปยังผู้วิจารณ์ว่า ไปคอมเม้นเขา ไปวิจารณ์หนังเขา ไปทำหนังอย่างเขาให้ได้ก่อน มันเป็นการเสียดสีของผู้อ่านหรือว่าผู้ผลิตภาพยนตร์ที่รู้สึกว่าได้รับการคอมเม้นแล้วมันไม่ตรงกับจุดที่เขาต้องการในการนำเสนอภาพยนตร์ เขาก็เลยหาช่องทางที่อยากจะเสียดสี แต่ถ้าเราเปิดใจกว้างเราเข้าใจมิติของการวิจารณ์ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการฟีดแบ็คอย่างนึงของผลงานภาพยนตร์สะท้อนออกไป เราก็น่าจะทำใจยอมรับ เก็บประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้สำหรับการปรับปรุงภาพยนตร์ต่อไป ถ้าตัวเองพูดในนามที่เป็นผู้กำกับนะน่ะคงไม่กล่าวคำเสียดสีแบบนี้ แต่คงใช้วิธีที่ว่าเราก็อ่านคำวิจารณ์ บางคนก็อาจจะวิจารณ์งี่เง่าไม่เข้าเป้าที่เราต้องการ บางคนอาจจะวิจารณ์โดยชนิดที่เหมือนกับใช้ความคิดส่วนตัวมากเกินไปไม่ได้ดูที่ผลงานหนังแล้วก็ไม่ได้เข้าใจสื่อภาพยนตร์ ก็ไม่ควรจะไปพูดในเชิงอย่างนี้ว่า ไปทำหนังให้ดีซะก่อนแล้วค่อยมาวิจารณ์เขาก็ต้องให้เกียรติ บทบาทของนักวิจารณ์ก็ถือว่าเป็นบทบาทนึงที่มันอยู่ในแวดวงภาพยนตร์ คนที่เป็นผู้อ่านหรือผู้เสพงานวิจารณ์ควรจะมีความรู้ว่าตัวเองควรเชื่อหรือไม่เชื่อมากน้อยแค่ไหนหรือควรนำเอาคำวิจารณ์ไปใช้ประกอบกับการพัฒนาภาพยนตร์หรือเปล่า แล้วก็ไม่ควรใช้อารมณ์เป็นตัวตั้ง"

คำถาม คิดอย่างไรกับผู้กำกับบางคนที่พอทำหนังออกมาแล้วได้บทวิจารณ์ไม่ดี ก็จะบอกว่า “ไม่ได้ทำหนังให้นักวิจารณ์ดู”
                "อย่างนี้ก็เป็นผู้กำกับซึ่งเผ็ดร้อน อาจจะแบบอยากจะโต้กลับ ผู้กำกับมันก็มีหลายประเภทสำหรับในบ้านเรา ผู้กำกับที่เขาใช้คารมไปโต้กลับนักวิจารณ์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ในต่างประเทศก็มี เพราะว่านักวิจารณ์อาจจะวิจารณ์ในบางจุดซึ่งเขาไม่ถูกใจ แล้วก็อยากจะแบบว่า.. ไม่รู้สินะมันมีเรื่องกระแสความเป็นข่าวอยู่ด้วย สังเกตไหมว่าถ้ามันโต้กลับมันจะกลายเป็นว่ามีข่าวให้กับตัวเอง แล้วส่งผลไปสู่หนัง มันอาจจะอยากขายตัวเองไปด้วยรึเปล่า นี่พูดในเชิงที่เป็นการค้า อีกส่วนนึงถ้าอยากจะโต้กลับจริงๆ มันก็ควรจะมีตัวผลงานกับการอ้างอิงในเชิงโต้กลับซึ่งเป็นการโต้กลับที่มีสาระมากกว่านี้ ถ้าอย่างในกรณีผู้กำกับบางคนโต้กลับแล้วใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งหรือต้องการสร้างกระแสข่าวเพื่อเป็นการโปรโมทหรือเป็นเครดิตตัวเอง บางทีเราก็ต้องแยกเอาไว้ในฐานที่ว่า ละไว้ในฐานที่เข้าใจ"

คำถาม จำเป็นหรือไม่ว่าหนังที่นักวิจารณ์บอกว่าดี คนดูก็ต้องบอกว่าดี
                "ไม่จำเป็น เพราะว่า มุมมองในการมองน่าจะต่างกัน แต่ทีนี้นักวิจารณ์ที่เขาวิจารณ์หนังว่าดีเนี่ย เราน่าจะมองลึกไปกว่าดีไม่ดีนะโดยไปมองที่เหตุผล เขาว่าดีเพราะอะไร และแน่นอนที่สุดเพราะอะไรเนี่ยไม่น่าจะใช่ประเด็นเดียวหรอกมันคงมีหลายประเด็น เราก็ควรจะเข้าไปดูว่าเหตุผลที่เขาว่าดีในประเด็นต่างๆคืออะไร และเราก็กลับไปพิจารณาดูตัวหนังอีกทีว่า เรามองด้วยมุมนี้ นักวิจารณ์มองด้วยมุมนี้ มันมีบางมุมที่เรามองพลาดไม่ได้มองหรือมันมีบางมุมที่นักวิจารณ์เขามองแล้วแหลมคมเหมาะสมที่เราควรจะต้องเปิดใจกว้างไปมองบ้าง มันก็จะทำให้การเสพหรือการบริโภคสื่อภาพยนตร์มันมีมุมที่กว้างขึ้น หนังมันเป็นเรื่องของจินตนาการที่คนบางคนจะปรุงแต่งเพื่อจะรู้สึกกับภาพยนตร์ แต่นักวิจารณ์อาจจะเป็นจุดนึงที่ทำให้เราตีคืนตัวเรากลับมาว่า เอามุมนี้ที่เรามองแล้วเราเทใจไปซะเยอะเลย แต่มันมีมุมมองที่นักวิจารณ์เขามองแต่เราไม่ได้มอง เออทำไมเราไม่มองบ้าง มองแล้วอาจจะเห็นบางมุมของภาพยนตร์ ทำให้คนทำหนังเข้ารู้สึกได้ว่าในมุมนี้คุณมามองหน่อยสิ ตรงนี้มันก็เป็นจุดนึงที่ตัวเองรู้สึกว่า บางทีเราอ่านบทนักวิจารณ์มันสะท้อนกลับตรงนี้ เพราะมิติการดูหนังบางทีเราเข้าไปดูหนังในตอนที่ทะเลาะกับแฟน ไม่ได้กินข้าวหิวไส้จะหลุด ท้องร้อง มันก็ดูหนังด้วยอารมณ์แบบ อาจจะดูแล้วการปรุงแต่งของหนังมันไปตามสภาพร่างกายสภาพมิติอารมณ์ แต่ทีนี้พอออกมาอ้าวทำเขาชมหนังเรื่องนี้ ทำไมเขาด่าหนังเรื่องนี้ ทำไมเรารู้สึกอย่างนี้บางทีเราก็ไม่แน่ใจว่าเราควรจะเชื่อที่อะไร แต่ถ้าเรามาดูนักวิจารณ์ที่เขาเขียนถึงแล้วก็อ่านจากหลายๆคนมันก็จะเป็นมุมมองที่สะท้อนให้เราเข้าใจในสื่อภาพยนตร์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เขาเรียกว่าเปิดกว้างในการพิจารณาภาพยนตร์โดยเลือกใช้มุมมองของนักวิจารณ์มาเป็นส่วนช่วยแต่งเติม"

11/24/2557

การโพสต์วีดีโอ และครีเอทีฟคอมมอนส์


ผู้กำกับที่ชื่นชอบ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99คริสโตเฟอร์ โนแลน
 คริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นผู้กำกับผู้ถือ 2 สัญชาติ คือ อเมริกัน – อังกฤษ เป็นทั้งนักเขียนและโปรดิวเซอร์ เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม ปี 1970 โดยพ่อเป็นชาวอังกฤษ มีอาชีพเป็น Advertising Copywriter แม่เป็นชาวอเมริกัน ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โนแลนมีน้องชายที่มักจะร่วมงานกันอยู่เสมอๆ ซึ่งเป็นนัดเขียนบทภาพยนตร์ ชื่อ โจนาธาน โนแลน

โนแลน ใช้ชีวิตในวัยเด็กของเขาทั้งใน ลอนดอน และ ชิคาโก้ โนแลนค้นพบว่าเขามีความสนใจทาง พฤทษศาสตร์ โนแลนได้รับกล้องขนาด 8 มม. จากพ่อของเขา โนแลนได้รับการศึกษาที่ Haileybury And Imperial Service College,โรงเรียนเอกชนที่ Hertford Heath ที่ Hertford อังกฤษ และเรียนต่อที่ University College London
Creative Commons License

11/10/2557

แนะนำตัวเอง


แนะนำตัว

ชื่อ  นายกฤษฎา ภารา
ชื่อเล่น  เกม
เกิด  9 มิถุนายน 2538
เรียนคณะ  นิเทศศาสตร์
สาขา  ภาพยนตร์และวิดีทัศน์
ชอบ  ดูหนังแนวหักมุม โดยเฉพาะหนังของคริสโตเฟอร์ โนแลน
ไม่ชอบ  หมา เพราะกลัว เคยโดนมันวิ่งไล่กัดตอนเด็ก
งานอดิเรก  เล่นเกม,อ่านหนังสือ (ส่วนมากจะเล่นเกม)